มาตรฐานของเทคโนโลยี Wi-Fi

4 ก.ย. 2556

มาตรฐานของเทคโนโลยี Wi-Fi

1. IEEE 802.11b    
          ถูกเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย  ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ผนวกกับ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz  ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้คลื่นความถี่นี้ ได้แก่ โทรศัพท์ไร้สาย, Bluetooth    มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ใช้เครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันดีในนาม Wi-Fi  โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ยี่ห้อต่างๆ ที่มีเครื่องหมาย Wi-Fi ได้

2. IEEE 802.11a
          ถูกเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542  ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing)  รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps แต่จะใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งมีข้อเสียคือบางประเทศย่านความถี่ดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างสาธารณะ  เช่น ประเทศไทย  ซึงไม่อนุญาตให้มีการใช้งานเนื่องจากความถี่ย่าน 5 GHz ได้ถูกใช้สำหรับกิจการอื่นแล้ว  และรัศมีของสัญญาณมีขนาดค่อนข้างสั้น คือประมาณ 30 เมตร  จึงไม่เป็นที่นิยม

 3. IEEE 802.11g
ถูกเผยแพร่เมื่อกลางปี พ.ศ. 2546   IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานที่จะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.11b  ใช้นำเทคโนโลยี OFDM มาประยุกต์ใช้ในช่องสัญญาณวิทยุความถี่ 2.4 GHz ซึ่งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ส่วนรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะอยู่ระหว่างรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11a และ IEEE 802.11b เนื่องจากความถี่ 2.4 GHz เป็นย่านความถี่สาธารณะสากล  และสามารถที่จะใช้งานร่วมกันกับอุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน IEEE 802.11b ได้จึงทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของระบบไร้สายที่ใช้กันอยู่เดิมอย่าง IEEE 802.11b เพียงแต่อัพเกรดเฟิร์มแวร์เท่านั้นหรือใช้งานกับ Access Point เลยก็ทำได้เช่นเดียวกัน   ดังนั้นจึงมีแนวโน้มสูงว่าอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหากมีราคาไม่แพงจนเกินไปและน่าจะมาแทนที่ IEEE 802.11b


ที่มาของบทความ http://www.vcharkarn.com
Share

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Copyright © 2015. Tech BLOG.
Design by Herdiansyah Hamzah. Published by Themes Paper. Powered by Blogger.
Creative Commons License