Wi-Fi กับ WiMAX ต่างกันยังไง

2 ก.ย. 2556

Wi-Fi กับ WiMAX ต่างกันยังไง

หลายคนสับสนระหว่าง WiMAX กับ Wi-Fi ทั้งคู่มีตัวย่อตัวอักษรแรกเหมือนกันคือ Wi และใช้มาตรฐาน IEEE บนสถาปัตยกรรม “802.” เหมือนกัน มีความเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อเครือข่ายและอินเตอร์เน็ตเหมือนกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานทั้งสองมีจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยและความต้องการในการใช้งาน



WiMAX เป็นคลื่นสัญญาณที่ได้รับสัมปทานในการเชื่อมต่อแบบ point-to-point กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ISP ไปยังลูกค้า end user โดยใช้มาตรฐาน 802.16 กับการเชื่อมต่อจากอุปกรณืแบบพกพา เช่นโทรศัพท์ไร้สาย
Wi-Fi เป็นคลื่นที่ไม่ได้รับสัมปทานในการเชื่อมต่อเครือข่าย นั้นหมายความว่า มีแค่สัญญาณครอบคลุม กับรหัสผ่านก็สามารถเข้าใช้งานได้แล้ว
WiMAX และ Wi-Fi มีการกำหนดความต้องการในการใช้บริการ Quality of Service (QoS) โดย WiMAX จะใช้กลไกในการเชื่อมต่อระหว่างสถานีฐานกับอุปกรณืของผู้ใช้ โดยในแต่ละการเชื่อมต่อจะมีการกำหนดค่าอัลกอรึทึ่ม ส่วน Wi-Fi ใช้ QoS ในการกำหนดค่าการเชื่อมต่อ Ethernet กำหนดการไหลของแพ็คเก็จข้อมูล เช่นการใช้งานโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต VoIP ผ่านเว็บเบราเซอร์

คลื่นความถี่ในการให้บริการจะมีมาตรฐาน 2.3GHZ, 2.5GHz และ 3.5MHz แต่สำหรับในประเทศไทย ขั้นแรกทาง กทช ได้อนุมัติและทดสอบการให้บริการภายใต้คลื่นความถี่ 2.3GHz และ 2.4GHz ส่วน 2.5GHz ขึ้นไปยังมีสัญญาณรบกวนอยู่ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาต่อไป สำหรับรัศมีในการให้บริการจะอยู่ที่ 50 กิโลเมตรโดยประมาณ


เอาเป็นว่า ใครที่ใช้ Wi-Fi อยู่ หลายๆ คนคงจะหาเสาเพื่อช่วยเพิ่มรัศมีในการรับสัญญาณ Wireless เพื่อรู้ถึงขีดความสามารถที่มีความสามารถในการส่งสัญญาณแค่ 30 เมตร จะดีแค่ไหนหากว่า WiMAX ตอบสนองในการใช้งานที่ครอบคลุมกว่า และกว้างไกลกว่า (50 กิโลเมตร) ไม่ต้องเดินเข้าร้านกาแฟหรืออยู่ในห้างที่จำกัดบริเวณ ก็สามารถใช้งานได้ทุกที่ที่มีสัญญาณ WiMAX ครอบคลุม

คุณสมบัติมาตรฐาน IEEE 802.16

รัศมีการกระจายสัญญาณ – 30 ไมล์ (50 กิโลเมตร) จากสถานีฐาน
ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล – 70 เม็กกะบิตต่อวินาที (ปกติเราใช้ Wi-Fi กันแค่ 1 – 2 เม็กกะบิตต่อวินาทีเท่านั้นเอง)
ไม่จำเป็นต้องใช้ Line-of-sight ระหว่างผู้ใช้กับสถานีฐาน
ย่านความถี่ 2 ถึง 11 GHz และ 10 ถึง 66 GHz (คลื่นที่ได้รับสัมปทานและไม่ได้รับสัมปทาน)
กำหนดค่าได้ทั้ง MAC และ PHY รวมไปถึงสนับสนุน PHY-layer

ขอบคุณบทความดีๆจาก http://wifi.rmutp.ac.th/archives/217
Share

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Copyright © 2015. Tech BLOG.
Design by Herdiansyah Hamzah. Published by Themes Paper. Powered by Blogger.
Creative Commons License